ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969

Description: D:\พี่จ๋า(พรเพ็ญ)\Bangkok Health Fair\Bangkok Health Fair 2010\BHF 2010 - 1 ต.ค. 53 - 2\BHFอื่นๆ\logo ทั้งชีวิต...เราดูแล\Logo ทั้งชีวิต เราดูแล.jpg

กทม. – สธ. พัฒนา GREEN & CLEAN Hospital Plus ชู 20 รพ.ระดับเพชร-ทอง-เงิน

กรุงเทพมหานครร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข พัฒนางานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและสำนักงานที่เป็น Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+) โดยมีโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital Plus ในระดับเพชร (Diamond) ระดับทอง (Gold)  และระดับเงิน (Silver) รวม 20 โรงพยาบาล โดย พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงศ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธาน การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานบริการสาธารณสุข และมี นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ คณะผู้บริหารโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ บุคคลภายนอกเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมแมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
กรุงเทพมหานครและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการพัฒนางานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้สถานพยาบาลลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง การใช้ประโยชน์จากของเสีย การพัฒนาส้วมสาธารณะตามมาตรฐาน HAS การลดการใช้พลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อน สุขาภิบาลอาหารที่ปลอดภัย และการจัดสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล กรุงเทพมหานคร ให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อน ซึ่งในปี 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายให้สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยกระดับการพัฒนาตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ในระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 75 พร้อมขับเคลื่อนงานในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนเขตเมือง และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและสำนักงานที่มีการยกระดับจาก GREEN & CLEAN Hospital เป็น Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+) โดยมุ่งหวังที่จะป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ เน้นการจัดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital Plus ต้องมีการดำเนินงานกิจกรรม GREEN ได้แก่ การจัดการมูลฝอยทุกประเภทให้เป็นไปตามกฎหมาย การจัดการห้องส้วมตามมาตรฐาน HAS การลดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม การจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย และการสุขาภิบาลอาหารและน้ำให้สะอาด รวมถึงการพัฒนาโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม และการพัฒนานวัตกรรม GREEN ตลอดจนถ่ายทอดกิจกรรม GREEN สู่ภาคีเครือข่าย และชุมชน (Network) ซึ่งการสร้างเครือข่ายการพัฒนา GREEN ลงสู่ชุมชนเพื่อให้เกิด GREEN Community เป็นการขายผลและส่งเสริมให้ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรม GREEN เพื่อลดโลกร้อนเช่นเดียวกับโรงพยาบาล โดยเครือข่ายที่ขยายผลอาจเป็นสถานพยาบาลลูกข่าย สถานศึกษา สถานประกอบการสำนักงานหรือชุมชน เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือมุ่งเน้นให้ประชาชนที่มารับบริการ ผู้ปฏิบัติงาน และชุมชนมีสุขภาวะที่ดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และนำไปสู่การลดภาวะโลกร้อน
สำหรับ ในปี 2562-2563 มีโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ดำเนินการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมผ่านเกณฑ์จำนวน 20 โรงพยาบาล โดยแบ่งเป็น

ระดับเพชร (Diamond) จำนวน 3 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับทอง (Gold) จำนวน 8 โรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
ระดับเงิน (Silver) จำนวน 9 โรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธาณสุข โรงพยาบาลคลองสามวา สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลที่ได้รับรางวัลนวัตกรรม GREEN & CLEAN Hospital ประเภทผลิตภัณฑ์ ชนะเลิศอันดับ 1 คือ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ประเภทกระบวนการ ชนะเลิศอันดับ 1 คือ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และรองชนะเลิสอันดับ 1 คือ โรงพยาบาลสงฆ์ และประเภท COVID-19 ชนะเลิศอันดับ 1 คือ โรงพยาบาลตำรวจ และรองชนะเลิสอันดับ 1 คือ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

รูปภาพและบรรยากาศในงาน